ข้อสะโพกหลวม เดินบิดขา ไม่มีแรงในสุนัข - ไซบีเรียน

ข้อสะโพกหลวม เดินบิดขา ไม่มีแรงในสุนัข

ข้อสะโพก (ตรงนี้ทางฟาร์มแก้ได้แล้ว ทางฟาร์มเคยเจอ%ที่สูง สองปีก่อน เจอ มากก่า10 ตัวจาก1000 รวมทุกสาย ถือว่าเยอะมาก ทางฟาร์มหยุดการพัฒนา สไตล์นั้นทันที เป็นสายที่สวยมาก ตัวใหญ่ กระ โหลกสวย เสียดายครับ ยกเลิกทั้งหมด และเราได้เจอเหตุผลแล้วด้วยทำไมถึงเกิด เรารู้กันแล้วนะครับ ตรงนี้เกิดจากพันธุกรรม แต่ต้องเจาะลึกกว่านี้ด้วยสำหรับฟาร์มที่จะเพาะพันธุ์สุนัข

การหาสาเหตุเป็นอะไรที่ยากมากครับ การจับคู่ผสม ในสายที่เราต้องการให้ตัวใหญ่ โดยฐานเดิมของ ไซบีเรียน ยังเป็นขนาดกลาง เราไปศึกษาสูตรจับผสมสายมา ทำให้ได้สุนัขใหญ่ สวย กะโหลกดี กลุ่ม ที่สวยก็สุดยอดเลย แต่ขนาดที่ร่างกายของเค้าใหญ่แต่ไม่สุดหมด ทำให้ข้อ ตรงจุดข้อต่อ ไม่เข้าและ หลุดหลวมกัน >> ข้อเสียของสายนี้อีกจุดคือหน้าตาไปทางอลาสกัน แต่ไม่ใช่นะครับ ตอนนี้ ทางฟาร์ม หยุดไปสองปี มาแก้อีกสายให้ได้ใหญ่สวย โครงสร้างดี กะโหลกสวย โดยไม่กระทบข้อต่อ และหน้า หน้าเข้ารูปไปแนวทาง หมาป่าไซบีเรียน กว่าจะทำได้ยากมากครับ (แต่สายอื่นๆก็ยังมีพบเจอบ้างแต่ น้อยมากแล้วครับ ไม่ถึง0.5-0.7%)

ข้อสะโพกหลวม ขาเดินบิด เป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม แต่โรคนี้ ดูง่ายครับ

ตอนเด็กๆจะเดินเหมือนไม่มีแรงครับ ข้อดูหลวม มาสังเกตกัน ดูง่ายมากครับ จะได้ไม่สับสนกันครับ การเดินขาแบะ เกิดจากการเลี้ยงดู ขาบิดซ้ายข้างขวาข้าง เวลานอนชอบนอนไก่ย่าง เลี้ยงบนพื้นลื่น นอนไก่ย่างปราบเซียนเลยครับ เป็นเกือบหมด แล้วหมอหลายท่านชอบแจ้งเป็นพันธุกรรม ไม่ใช่นะ ครับ ถ้าใช้อีกกรณีนึงครับ ข้อสะโพกหลวม ดูด้วยตาเปล่าก็เห็น และเห็นแต่ยังเด็ก แต่บางกรณีก็มีการดูที่ยากขึ้น แต่ถ้า กระดูกหลวม เดินอ่อนแรง อันนี้ยืนยันนะครับ ไม่ใช่การเลี้ยงดูครับ เป็นพันธุกรรม (ทางฟาร์ม เขียนไม่ได้โจมตีที่ไหนนะครับ เขียนตามความเป็นจริงครับ ทางฟาร์มก็เจอครับ ปัจจุบันสายนั้นทุก ยกเลิกทำให้พบเจอโรคนี้น้อยลง ) ข้อกระดูกช่วงต่อเค้าไม่รับหน้าที่กัน

แนวทางป้องกัน เนื่องจากโรคนี้ทางฟาร์มไม่ได้การันตี

ทางฟาร์มจะต้องคัดและศึกษาสายพันธุ์และเก็บประวัติให้ได้มากที่สุด และลดความเสี่ยงที่จะ พบเจอ แต่การคัดทำได้ยากมาก เช่นพ่อ แม่ ปู่ย่า ไม่เป็น ไม่ใช่ลูกออกมา จะไม่เป็น เพราะยังมี ยีนส์ด้อย อยู่ในช่วงไหนของรุ่น ซึ่งทางฟาร์มไม่ทราบ จะทราบก็ต่อเมื่อพบเจอแล้ว เก็บจด ประวัติ บางทีให้มาสองคอก ไม่เจอ อีกคอก5 ตัว เป็นแนวนี้เลยครับ แต่หากพบเจอซึ่งทางฟาร์มปกติจะมีการคัดตรงนี้อยู่แล้ว ถ้าเกิดสังเกตุเห็นตั้งแต่ช่วงรับกันไป สามารถเปลี่ยนตัวได้ทันทีครับ

ทางฟาร์มยังมีการศึกษาจากโปรแกรมสุขภาพ ที่ให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการฟรี เพื่อให้ลูกค้านำ สุนัขเข้ามาตรวจเช็คเก็บประวัติในการผสมครั้งต่อไป

แนวทางรักษาดูแล

ยกบทความจาก www.beyondbeds.com

  1. การรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัด ธาราบำบัด การว่ายน้ำหรือเดินบนลู่วิ่งในน้ำ เพราะน้ำจะ ช่วยพยุงน้ำหนักตัวของน้องหมาในขณะออกกำลังกาย ทำให้ข้อสะโพกไม่ต้องทำงานหนัก มาก แต่ทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมาช่วยรับน้ำหนักตัวแทน โดยพาไปสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็ได้ค่ะ
  2. การจัดการที่เหมาะสม คือต้องมีการควบคุมอาหาร ไม่ให้สุนัขมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป และไม่ควรเลี้ยงสุนัขบนพื้นลื่น เพราะจะทำให้การลุกนั่งลำบาก มีความเจ็บปวดมากขึ้น น้อง หมาอาจจะนอนอย่างเดียว ไม่ยอมลุก จนสุดท้ายเป็นแผลกดทับตามมาได้ค่ะ
  3. การรักษาทางยา กรณีที่สุนัขยังเป็นไม่เยอะมาก อาจมีการให้ยากลุ่มแก้ปวด ลดการอักเสบ ของข้อต่อ ยาบำรุงข้อ ร่วมกับการรักษาอื่น ๆ ก็เห็นผลดีค่ะ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด กรณีสุนัขที่เป็นเยอะแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกายของสุนัขด้วยนะคะ โดยการผ่าตัดทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การผ่าตัดปรับมุม กระดูกสะโพก การตัดหัวกระดูกต้นขาออก การตัดกล้ามเนื้อต้นขาบางมัด เป็นต้น ซึ่งจะทำวิธี ไหนนั้น ขึ้นกับสัตวแพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ตัดสินใจค่ะ
Tags: No tags

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *