Demodicosis ขี้เรื้อน หรือ โรคเรื้อน เกิดจากสัตว์ตัวเล็กๆ 8 ขา ที่เราเรียกว่า “ไรสุนัข” (Mites) ไรสุนัข หรือ ไมท์มีอยู่หลายชนิด อันเป็นที่มาของโรคผิวหนังแตกต่างกัน ซึ่งว่าไปแล้วโรคผิวหนังในสุนัขไม่ได้มี สาเหตุมาจากไรทั้งหมด โรคผิวหนังอาจเกิดได้จากแบคทีเรีย รา ความบกพร่องต่างๆ ของร่างกาย สุนัข และโรคภายในบางอย่างก็ทำให้เกิดมีอาการขนร่วงคล้ายกับเป็นโรคผิวหนังได้ ซึ่งเหล่านี้ควรได้ รับการตรวจและวินิจฉัยจากสัตว์แพทย์ อย่างไรก็ตามโรคผิวหนังที่พบมากและบ่อยครั้งมักเกิดจากไร สุนัข หรือไมท์
คนสมัยก่อนแบ่งขี้เรื้อนเป็นสองประเภท คือ ขี้เรื้อนเปียก กับขี้เรื้อนแห้ง โดยแยกตาม ลักษณะอาการหรือวิการที่เห็นว่าลักษณะเปียก มีน้ำเหลือง หนอง เลือดไหล ก็จัดเป็นขี้เรื้อนเปียก ถ้า ตรงข้ามก็เป็นแบบแห้ง ขี้เรื้อนของคนไทยแปลมาจากคำว่า manges ซึ่งแปลว่าโรคผิวหนังที่เกิดจาก ไรสุนัข ไรสุนัขอย่งที่กล่าวมาแล้วมีหลายชนิด แต่ชนิดที่เห็นบ่อยๆ และเด่นๆ มี 3 ชนิดคือ เดโมเดค, ซาคอปเตส และ ไรในรูหู เดโมเดค (Demodectic mites หรือ Demodex bovis)
Demodectic เจ้าตัวเดโมเดคติก ไมท์ ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่ชื่อว่า เดอโมไดโคซิส (Demodicosis) ซึ่งจัดเป็นโรค mange ชนิดหนึ่ง เจ้าตัวนี้เป็นสัตว์แปดขาขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อยู่ในขุมขนของสุนัข สัตวแพทย์ต้องนำผิวหนังมาขูดแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถึงจะเห็นเดโมเดค สามารถก่อให้เกิดขี้ เรื้อนเปียก หรือแห้ง ขึ้นอยู่กับว่าการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนหรือไม่ ในการรักษา เนื่องจากมันอยู่ ลึกไปในขุมขน ทำให้ยากต่อตัวยาที่จะแทรกซึมลงไปถึงตัวมัน
เดโมเดคมีชื่อเฉพาะซึ่งแตกต่างกันไป ตามแหล่งที่พบในสัตว์แต่ละประเภท ที่มีชื่อสปีชีว่า เคนิส หรือเดโมเดค เคนิส (Demodex Canis) หลายๆ คนไม่ทราบว่าคนเราก็มีเดโมเดคอาศัยอยู่เช่นกัน แต่คนละสปีชีกับสุนัข ดังนั้น เดโมเดคใน สุนัขไม่สามารถติดต่อมาถึงคนได้ เพราะคนกับสุนัขมีความห่างทางเครือญาติ หรือมีวิวัฒนาการแตก ต่างกันมาก แม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน เดโมเดค เป็นไร 8 ขาที่ขนาดเล็กมาก รูปร่างของมันยาวรี คล้ายสัตว์ประหลาดหรือหนอนมากกว่า มัน มีขนสั้นมาก ซึ่งน่าจะเรียกว่า buds มกากว่าขา มันดำรงชีวิตโดยการดูดน้ำเลี้ยงน้ำเหลืองจากสัตว์ที่ มันไปอาศัย เดโมเดทมีหลายชนิด พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดแตกต่างกันไป บางตำรา บอกว่ามันเป็นโฮสต์สเปซิฟิค (Host specific) ก็คือ เดโมเดคชนิดที่พบในสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่ข้าม ไปมาระหว่างสัตว์ต่างชนิด เช่น เดโมเดคของสุนัขจะไม่ไปติดแมว เดโมเดคของแมวก็จะไม่ไปติด
กระต่าย แต่มีผลงานวิจัยเพิ่มเติมเมื่อไม่นานนี้ว่า พบเดโมเดคสามารถติดต่อได้ในสัตว์ที่มีความเป็น เครือญาติใกล้กันได้บ้าง เช่นว่า เดโมเดคของสุนัขบ้านสามารถพบในสุนัขป่าบางชนิดของอเมริกา ตามธรรมชาติเดโมเดทพบได้ทั่วไปในสุนัขทุกตัว และจะไม่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังตราบใดที่มันยังมี จำนวนน้อย และภูมิคุ้มกันแข็งแรงปกติดี พวกมันจึงจัดเป็นพวก นอร์มัล ฟลอร่า หรือเชื่อที่พบเห็นได้ ทั่วไปในร่างกายสัตว์ที่ปกติ การติดต่อของโรค เดโมเดคถ่ายทอดกันโดยการสัมผัสโดยตรงเท่านั้น (Direct contact) การสัมผัสโดยตรงจากแม่สุนัข ถึงสุนัขแรกเกิดช่วงระยะแรกของชีวิตเท่านั้น มีผลงานวิจัสนับสนุนมานานแล้วว่าเดโมเดคถ่ายทอด โดยวิธีนี้ เขาพบว่าการผ่าท้องคลอดแล้วแยกลูกสุนัขออกมาเลี้ยงเอง ลูกสุนัขชุดนั้นไม่พบเดโมเดค แต่ถ้าให้คลอดตามธรรมชาติ ก็ยังมีโอกาสที่ลูกสุนัขจะได้รับเชื้อจากปากช่องคลอด ตามทฤษฎีนี้เชื่อ ว่าเดโมเดคไม่ถ่ายทอดจากสุนัขโตตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง แม้ว่าจะเลี้ยงด้วยกัน และเดโมเดคอยู่ใน ขุมขนของสุนัขเท่านั้น ไม่อยู่ภายนอกร่างกายสุนัขหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น พื้นคอก กรง จานชาม
ดังนั้น กรณีการติดต่อผ่านชามสุนัขที่ทำความสะอาดแล้วก็ตาม จึงไม่ใช่กรณีของเดโมเดค ผู้เลี้ยงไม่ จำเป็นต้องทำการทรีตหรือใส่ยาฆ่าเชื้อตามอุปกรณ์ต่างๆ หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก เหมือนกรณีของ ไรบางชนิด หรือกรณีของเห็บ แต่อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังที่เกิดจากเดโมเดค ยังควรจะต้องให้ความ ระมัดระวังในเรื่องของความสะอาด เพื่อสุขภาพอนามัยของคอก และป้องกันการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน ในสุนัขป่วย แนวทางหารป้องกันของฟาร์ม
***จุดการระวังของฟาร์ม หากทางฟาร์มพบแม่ที่มีโรคผิวหนัง Demodicosis จะไม่ใช้เป็นแม่พันธุ์หรือ ให้น้ำนมลูก เลย ซึ่งการเป็นโรคนี้จะส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันสุนัขจะต่ำกว่าปกติ ทำให้การผสมพันธุ์ติดได้ ยากขึ้น ความเสี่ยงที่จะติด ไรขี้เรื้อน ทางฟาร์มจึงงดด้วยหลายเหตุผลตรงนี้
แนวทางการรักษา
ในการรักษาอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำด้วยแชมพูดังกล่าว ร่วมกับใช้ยา ฆ่าตัวไร (miticidal) อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ป้อนยา ivermectin หรือป้อนยา milbemycin oxime ให้น้องหมา วันละครั้ง สำหรับยา ivermectin ให้ระวังในสุนัขพันธุ์เสี่ยงด้วยครับ หรือ
- ใช้การหยอดหลังด้วยยา moxidectin+imidaclopid ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ หรือ
- ให้คุณหมอฉีดยา doramectin ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ก็ได้ แต่ห้ามใช้ในสุนัขพันธุ์เสี่ยงเช่นกัน และ
- ใช้การพ่นหรือทายา amitraz บนตัวน้องหมาทุก ๆ สัปดาห์ โดยแนะนำให้ตัดขนให้สั้นก่อน เพื่อ ให้ยาสัมผัสกับรอบโรคได้ดียิ่งขึ้น และควรสวมปลอกคอกันเลีย เพื่อป้องกันน้องหมาเลียรับเอาสารพิษ จากยาเข้าสู่ร่างกายทางปากด้วย
cr.แนวทางการรักษาจากบทความ น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์ www.dogilike.com