ไข่ใบเดียว หรือ ไข่ทองแดง
ไข่ทองแดง ใช้เป็นชื่อเรียกความผิดปกติจากการที่ ลูกอัณฑะ ไม่ยอมลงไปอยู่ในถุงอัณฑะ
ทางแก้ไข
จะมีการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง การเพาะพันธ์ทางฟาร์มไม่แนะนำ เพราะมีการจ่ายลูกจะเป็นการส่งต่อพันธุกรรมที่ไม่ดีออกไปเข้าไปอีก
การป้องกัน
โดยฟาร์มจะมีการคัดพ่อแม่และต้นสายเพื่อคัดให้ออกมาดีที่สุด หากทราบว่ามีจะหยุดผสมทันที ถึงจะเคยจ่ายลูกมาหลายคอกไม่เป็นก็ตาม แต่ในต้นสายสักจุดยังมีอยู่ แต่ทางนี้ก็ไม่สามารถลดได้ 100% ทำได้คือการลดให้ได้มากสุด
ความร่วมมือจากหลายๆฟาร์ม หากท่านพบเจอ ขอให้หยุดผสมเช่นกัน โดยท่านสามารถเก็บสถิติไว้ ถ้าเจอให้หยุดเลย ไม่ใช่แค่เปลี่ยนคู่จับนะครับ ทางฟาร์มลองแล้ว พอจับไปต่อสายอื่น ก็วนมาเจออีก หยุดงดไปเลยดีกว่า ถามว่าทำไมต้องให้ความร่วมมือฟาร์มหลายฟาร์ม มีการแลกเปลี่ยนสายอยู่ตลอด ท่านไม่ต้องโจมตีใคร ฟาร์มก็ไม่โจมตีกัน เรามาช่วยกัน
มาดูกันครับ ฟาร์มออล์เบส มีสายหลายสายมาก เราไปเก็บสายฟาร์มอื่นๆมาเยอะมาก เราไม่มีการปิดกันตัวเอง แต่บางทีอาจไม่ได้ออกชื่อฟาร์มไปซื้อเก็บนะครับ เหตุทำไมเราต้องไปเก็บ บางฟาร์มมีการนำเข้าสายพันธุ์ดีๆเข้ามา ถูกใจตากรรมการฟาร์มเรารีบไปเก็บลูกเลย เพื่อมาพัฒนาสายของเราต่อ บางทีเราไม่เก็บตัวสองตัวเราเก็บทั้งคอกเลย เรากล้าลงทุนครับ และไม่ปิดกันกับสายตัวเอง เหนือใต้ ออก ตก เราเก็บหมด ถามว่าเจอปัญหาตรงนี้ไหม เยอะมากครับ เท่ากับเราเก็บฟรี เพราะเราจะไม่ใช้เลย เนี่ยคือการกล้าลงทุน กล้าที่จะพัฒนา เมื่อทุกท่านที่ฟาร์มช่วยกัน ในอนาคตปัญหาตรงนี้จะเริ่มลดลงแน่นอนครับ
การดูแลเมื่อลูกค้าเราเจอ โรคที่เกี่ยวกับพันธุกรรมทางฟาร์มไม่ได้การันตี
ลูกค้าหลายท่านอยากผสม ทางฟาร์มก็แนะไม่ควรและเราจะหาทางออกอย่างไร เราจะมีการดูแลเรื่องการผสมให้ครับ โดยหาสายที่เหมาะสม แต่หากลูกค้าเป็นตัวเมีย ไปผสมตัวผู้ ตัวผู้ไม่เป็น แล้วลูกออกมามีหลุดเป็น อันนี้ทางฟาร์มไม่ได้ดูแลครับ เนื่องจากเราไม่รู้ว่ามาจากเส้นไหนครับ
ถ้าตัวผู้ออกจากฟาร์ม อันนี้จากฟาร์มแน่นอน ทางฟาร์มจะดูแลการจัดผสมให้ครับ
ไข่ทองแดง
Cryptorchidism คือสภาพที่ลูกอัณฑะลูกใดลูกหนึ่งหรือทั้ง 2 ลูก ไม่สามารถเคลื่อนลงและคงอยู่ในถุงอัณฑะได้
ผู้ผสมพันธุ์บางคนอาจเรียกภาวะนี้ว่า ไข่เม็ดเดียว ( Monorchidism ) ซึ่งไม่ค่อยถูกต้องนัก ความจริงควรเรียกว่า ไข่หลบใน ( Unilateral Cryptorchidism ) มากกว่า เพราะความจริงสุนัขที่มีอัณฑะเม็ดเดียวจริงๆนั้น มีน้อยมาก แต่อัณฑะอีกลูกที่หายไปยังคงอยู่ในช่องท้องของสุนัขมากกว่า และถ้าไม่ลงมาทั้ง 2 ข้างก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอัณฑะเลย แต่เป็นไข่หลบในทั้ง 2 ข้างมากกว่า ( Bilateral Cryptorchidism )
ลูกอัณฑะ มีการพัฒนาขึ้นในช่องท้องเสมอ แต่ต้องอพยพออกมาอยู่ภายนอกร่างกาย เพราะเชื้ออสุจิไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิของร่างกาย มันต้องการอุณหภูมิที่เย็นกว่า
อัณฑะจึงเคลื่อนตัวผ่านรูเปิดในช่องท้อง ที่เรียกว่า ( Inguinal ring ) ออกมาตามช่องท้อง ( ที่เรียกว่า Inguinal Canal ) ลงสู่ถุงอัณฑะในที่สุด ในลูกสุนัขขบวนการนี้มีเมื่อสุนัขอายุได้เพียง 10 วัน แต่ลูกอัณฑะในขณะนั้นมักเล็กเกินกว่าจะสังเกตได้
สาเหตุที่พบเจอส่วนใหญ่คือเป็นโรคที่มาจากพันธุกรรม
การสังเกตุ การดูคือเราอาจจะต้องรอ ซึ่งใช้เวลานาน ประมาณลูกสุนัข 8-9 เดือน แต่หากไ่ม่ลงแล้วแปลว่าไม่ลงแล้วครับ พบเจอบ่อย ในYorksire Terrier, Pomeranian ,Toy Poodle , Miniature , Siberian Husky , Chihuahua และ German Shepherd เช่นกันทางฟาร์มก็เจอเช่นกันครับ เป็นโรคที่เจอเยอะที่สุดในกลุ่มพันธุกรรมเลย
การเคลื่อนลงของลูกอัณฑะ เริ่มจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศผู้ (Testosterone ) การที่อัณฑะไม่ลงทั้ง 2 ข้าง อาจเกิดเพราะมี Testosterone ต่ำ แต่ “ อะไรที่ทำให้ลงเพียงข้างเดียว ”
ในข้อเท็จจริง อัณฑะที่ลงมาข้างเดียวนั้น มักเป็นข้างซ้าย ส่วนข้างขวามีโอกาสค้างอยู่มากกว่า
ลูกอัณฑะจะไม่มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ถ้าไม่ได้ลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ ลูกที่ค้างอยู่ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน ก็ไม่เจริญเติบโตตามปกติ และจะมีขนาดเล็ก
ถ้าลูกอัณฑะไม่ลงมาเลย สุนัขตัวนั้นจะเป็นหมัน ( ผสมได้แต่ไม่ติด ) เพราะไม่มีเชื้ออสุจิ แต่ถ้าลงมาแม้เพียงข้างเดียว มันจะสามารถผสมติดได้ แต่จำนวนเชื้ออสุจิและอัตราการผสมติด จะต่ำกว่าตัวที่มีอัณฑะลงครบ ทั้ง 2 ข้าง
ลูกสุนัขบางตัว ลูกอัณฑะได้เคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะแล้ว แต่กลับถูกดึงกลับขึ้นไปในภายหลัง เมื่อลูกสุนัขโตขึ้น ทำไมเมื่อมันเคลื่อนลงมาแล้ว ถึงไม่ค้างอยู่ในถุงอัณฑะเหมือนเดิม ? มันถูกจัดการให้กลับขึ้นไปได้อย่างไร ?
เพื่อเข้าใจคำตอบ คุณต้องรู้ว่า ลูกอัณฑะถูกยึดติดอยู่กับร่างกายด้วย เส้นเลือด Spermatic Cord และกล้ามเนื้อ ชื่อ Cremaster Muscle ลูกอัณฑะจะฝ่อไปถ้าเส้นเลือดที่มาเลี้ยงได้รับความเสียหาย
กล้ามเนื้อ Cremaster เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิของลูกอัณฑะ เมื่ออากาศเย็นมันก็จะหดตัว เพื่อดึงลูกอัณฑะเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ ตัว และเมื่ออากาศร้อน ก็จะคลายตัว และปล่อยให้ลูกอัณฑะอยู่ห่างจากร่างกาย ( อันนี้เป็นเหตุที่เราพบเห็น สุนัขในบ้านเรา มีถุงอัณฑะยานยาวกว่าสุนัขที่มาจากนอกใหม่ๆ ดังนั้น หากจะแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องเลี้ยงสุนัขในที่มีอากาศเย็น ไม่ใช่ไปใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่ง ) ถ้าสุนัขพันธุ์ขนเกรียน ในช่วงอากาศหนาวจะเห็นว่าถุงอัณฑะมันหดลงแทบที่จะติดกับตัวมันเอง แต่ถ้าในสุนัขขนยาว แม้จะมีอากาศเย็นก็อาจหย่อนลงต่ำได้
โดยทั่วไปสุนัขขนเกรียนที่มีหนังกระชับจะมีลูกอัณฑะที่ชิดกับลำตัวมากกว่าสุนัขที่มีขนยาวหรือหนังย่น นี่เป็นสาเหตุโน้มนำประการหนึ่งของการเกิด “ ทองแดง ” อันเนื่องมาจากพันธุ์
ในสุนัข “ ทองแดง” กล้ามเนื้อ Cremaster จะสามารถหดตัว และดึงเอาลูกอัณฑะที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ให้กลับขึ้นไปในร่างกายได้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในถุงอัณฑะจะมีเส้นเอ็น ( ligament ) ที่คอยยึดให้ลูกอัณฑะค้างอยู่ภายในถุง การที่เส้นเอ็นส่วนนี้ไม่สามารถยึดลูกอัณฑะไว้ได้ ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดทองแดง
การเคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะของลูกอัณฑะเป็นขบวนการที่ซับซ้อน การเกิดทองแดงจึงมีมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่กว่าช่องเปิดในช่องท้อง ( Inguinal Ring ) ช่องเปิดนั้นเล็กเกินไป, เยื่อบุผนังช่องท้องตึงเกินไป
อวัยวะส่วนที่เรียกว่า Testis Gubernaculum ขยายตัว เพื่อเป็นตัวนำร่องให้ลูกอัณฑะเคลื่อนลงมาตามช่อง Inguinal Canal เพื่อลงสู่ถุงอัณฑะ ถ้าเกิดไม่สามารถทำหน้าที่ได้, ( และทำหน้าที่ยึดลูกอัณฑะเอาไว้ในถุงอัณฑะด้วย ) หรือมีฮอร์โมน Testosterone ไม่เพียงพอ การเกิดได้หลายๆ เหตุนี้ แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ ใหญ่ๆ คือ พันธุกรรม และการพัฒนาการที่ไม่ถูกต้อง
ทองแดงจากพันธุกรรม
จากข้อเท็จจริงว่า แต่ละพันธุ์มีอัตราการเกิดทองแดงไม่เท่ากัน เป็นเครื่องชี้อย่างหนึ่งว่า พันธุกรรมสามารถเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดทองแดง
พันธุ์ บีเกิล และ ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ มีอัตราการเกิดน้อย ส่วนพันธุ์ที่เกิดได้บ่อยได้แก่ ชิวาวา, พูเดิ้ล, ปอมเมอร์เรเนียน, มินิเจอร์ ชเนาเซอร์, เชทแลนด์ ชีพด๊อก, ไซบีเรียน ฮัสกี้, บ๊อกเซอร์ และยอร์คเชียร์ เทอเรีย ผู้วิจัยบางคน “ สรุป ” ว่า พบได้บ่อยกว่าในสุนัขที่มีขนาดเล็ก ๆ แต่ควรสังเกตว่า พูเดิ้ลทั้ง 3 ขนาด มีโอกาสเกิดได้หมดแม้จะมีขนาดตัวต่างกันมาก
บางการศึกษาอ้างว่า พันธุ์ที่มีหน้าสั้น เช่น บ๊อกเชอร์ มีส่วนสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตที่ผิดปกติที่ทำให้เกิดทองแดง ขนาดแคระ และหน้าสั้น เกี่ยวพันกับการพัฒนาของลูกอัณฑะด้วย แต่ทองแดงก็พบได้ในพวกหน้ายาว, ปากแหลม เช่น พูเดิ้ล วิพเพทและเกรย์ฮาวด์ คุณ Patricia เคยพบว่า เกรย์ฮาวด์ ครอกหนึ่งเพศผู้ทั้ง 4 ตัว เป็นทองแดงหมด หรือ เจ็ดในแปดตัวเป็น
การสำรวจ แสดงว่า อัตราการเกิดมีความผกผันมากในระหว่างพันธุ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการศึกษาวิจัยนั้น ได้จัดทำขึ้นที่ไหนและเมื่อไร เช่น มีการสำรวจว่า พันธุ์บ๊อกเซอร์ เป็นในอัตราร้อยละ 29 และอีกการสำรวจทราบว่า เยอรมันเช็พเพอด พบในอัตราร้อยละ 3.9
การศึกษา เรื่องพันธุกรรมในระยะแรก
ไม่มีการวิจัย เกี่ยวกับภาวะทองแดง ในสุนัขมากนัก เรื่องที่เกี่ยวข้องมักอ้างอิงมาจาก เรื่องเดิม เช่น ข้ออ้างว่าสุนัขพันธุ์บ๊อกเซอร์ พบอาการนี้ ถึง 29 % ก็ย้อนไปถึงปี 1930 ซึ่งมีพ่อพันธุ์สำคัญเกี่ยวข้องเพียง 4 ตัว ปัญหาเรื่องนี้ คือได้มีการสรุปว่า การผสมเลือดชิดและการเกิดทองแดง เป็นเหตุและผลกัน
บางเรื่อง ความจริง อาจไม่มีความสัมพันธ์กันเลยก็ได้ ข้อเท็จจริงในกรณีคือ พันธุ์บ๊อกเซอร์เป็นทองแดงมาก แต่ไม่มีหลักฐานที่จะสรุปว่า การผสมเลือดชิดมาก ๆ จะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทองแดง
บางครั้ง ผู้วิจัยรุ่นแรก ๆ อาจเป็นแค่วางแนวโน้ม เขากล่าวว่าต้นเหตุยังไม่ทราบชัด แต่เพราะความเป็นไปได้ทางพันธุกรรม สุนัขที่เป็นทองแดงไม่ควรใช้ทำพันธุ์ ต่อมาเมื่อได้รับการอ้างถึงจากผู้เขียนในระยะหลัง ก็จะสรุปชัดลงไปทุกที จนเหมือนกับข้อสมมติฐานนี้ กลายเป็นข้อเท็จจริงไป
หลังจากยุคปี 1950 เริ่มมีผู้สรุปว่า ทองแดง เป็นพันธุกรรม และนอกจากตัวสุนัขที่เป็น ไม่ควรขยายพันธุ์เท่านั้น ญาติหรือลูกหลานของมัน ก็ไม่ควรใช้ทำพันธุ์ด้วย หรือแม้กระทั่งกล่าวว่า ทองแดงเป็นยีนส์ด้อยในลักษณะตามทฤษฎีของเมนเดล แต่ยังไม่มีใครแยกยีนส์ที่ทำให้เกิดทองแดงได้
คุณ Patricia ไม่สามารถค้นหาข้อมูลการทดลองที่เกี่ยวกับทองแดงในสุนัขได้ แต่ได้พบการทดลองในแพะพันธุ์ Angora และอีกการทดลองที่ไม่ค่อยช่วยอะไรนัก ซึ่งทำในแกะ 30 ตัว และพยายามพิสูจน์ว่า ทองแดงในแกะของเขานั้นเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย ซึ่งได้สรุปว่า อาจเป็นทั้ง 2 ลักษณะ ( หรือไม่ได้เป็นทั้งลักษณะเด่น และด้อย )
มาถึงกรณีแพะ Angora กับสุนัขจะมีความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ เหมือนกันหรือไม่ ?
การศึกษาในแพะ น่าสนใจ เพราะเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ได้ทดลอง และชี้ชัดว่าพันธุกรรมเป็นต้นเหตุในบางภาวะทองแดง ได้มีการทดลองในฝูงแพะ Angora 2 ฝูง ใน Texas Agricultural Experiment Station จากปี ค.ศ. 1917 – 1959 ได้มีการทดลองหลายแบบ เพื่อเพิ่มหรือลดอัตราการเกิดทองแดงในแต่ละปี โดยวิธี
- ผสมเฉพาะกับพ่อพันธุ์ ที่เป็นทองแดง
- ผสมโดยไม่ต้องคัดเลือก ( ทั้งที่เป็นและไม่เป็น )
- ผสมเฉพาะพ่อพันธุ์ที่มีอัณฑะครบ ( คัดเลือกเล็กน้อย ) เป็นแบบที่เรากำลังทำอยู่ในสุนัขของเรา
- ผสมเฉพาะพ่อพันธุ์ที่มีอัณฑะครบและคัดแม่ที่ให้ลูกอัณฑะไม่ครบออกด้วย ( คัดอย่างอ่อน )
- ผสมเฉพาะพ่อพันธุ์ที่มีอัณฑะครบและคัดทั้งพ่อและแม่ที่ให้ลูกอัณฑะไม่ครบออกด้วย ( คัดปานกลาง )
- ผสมเฉพาะพ่อพันธุ์ที่มีอัณฑะครบและคัดทั้งพ่อและแม่ที่ให้ลูกอัณฑะไม่ครบออกด้วย รวมทั้งลูกหลานที่เกิดขึ้นมาออกด้วย ( คัดอย่างเข้มงวด )
- จากข้อ 6 ให้คัด พวก ญาติๆ ออกไปอีกด้วย ( คัดอย่างเข้มงวดมาก )
ในฝูงแรกเริ่มจากใน ข้อ 3) เลือกผสมเฉพาะพ่อที่อัณฑะครบไป 20 ปี ปรากฏว่าเกิดทองแดงขึ้นประมาณ ร้อยละ 6.8 / ปี ( สุนัขส่วนใหญ่ทำอยู่ในข้อนี้ ) จากปี 1937 – 1949 เขาปรับเป็นการผสมที่คัดเลือกในระดับปานกลาง ( ในข้อ 5 ) อัตราการเกิดทองแดง ลดลงเหลือ ร้อยละ 2.8 และจากปี 1948 – 1959 ใช้การคัดเลือกอย่างเข้มงวดมาก ( ในข้อ 7 ) ผลคืออัตราการเกิดทองแดงเหลือ เพียงร้อยละ 0.4
ในฝูงที่ 2 ใช้ เฉพาะพ่อทองแดง ( ในข้อ 1 ) ผลคือ อัตราการเกิดทองแดง เพิ่มจากร้อยละ 5.7 ในปี 1921 เป็นร้อยละ 50 ในปี 1934 แล้วจึงเริ่มพยายามคัดเลือก เพื่อลดลักษณะดังกล่าวลง จากปี 1934 ถึง 1946 ใช้การคัดเลือกในระดับปานกลาง ( ในข้อ 5 ) ผลคืออัตราการเกิดลดลงเหลือร้อยละ 11.0 แล้วเพิ่มเป็นการคัดเลือกอย่างเข้มงวด ( ในข้อ 6 ) จนถึงปี 1951 ผลคืออัตราการเกิดลดลงเหลือร้อยละ 0.8
ผลการศึกษา พบว่าสามารถลดหรือเพิ่มอัตราการเกิดทองแดง ได้จากแผนการผสมพันธุ์ และ ภาวะทองแดงในแพะ Angora เป็นลักษณะด้อยซึ่งกำหนดโดยยีนส์ไม่กี่คู่
การศึกษานี้ เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ยีนส์ด้อยทำให้เกิดทองแดง และแสดงอย่างชัดเจนว่า เราไม่ควรขยายพันธุ์สุนัขทองแดงเพศผู้ ส่วนญาติๆ ของมันนั้นเป็นอีกกรณีหนึ่ง ภาวะทองแดงขยายเป็นวงกว้างในสุนัข ถ้าคัดเลือกอย่าง
ทางฟาร์มไม่ได้การันตีตรงนี้เนื่องจากทางฟาร์มได้ทำการคัดสายพันธุ์มาอย่างดีแล้ว
ซึ่งหากพ่อแม่เป็นก็จะไม่ได้ทำการผสม
บทความแนะนำ